ทำไมต้องมี Thai Compendium
ทำไมต้องมี Thai Compendium
โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์[1] ที่ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนโลก[2] ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.๒๕๕๗ โดยโครงการฯ ได้ตั้งเป้าหมายมุ่งปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง จัดบริการสุขภาพ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางเพศ และการเข้าถึงบริการ จนส่งผลกระทบในการลดอัตราการติดเชื้อเอดส์รายใหม่ ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีรายได้มวลรวมปานกลางระดับสูง จึงมีความจำเป็นที่จะรับการสนับสนุนช่วยเหลือจากองค์กรนานาชาติ และมุ่งหวังให้ประเทศไทยสามารถดำเนินงานเองได้อย่างมีประสิทธิผล (Effective Management) ซึ่งถือเป็นการพัฒนาภารกิจได้อย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยหน่วยงานภายในจังหวัด และท้องถิ่น
ดังนั้น ความยั่งยืนของการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ย่อมกอปร์ด้วยสมรรถนะการจัดการโครงการ/กิจกรรมที่มีประสิทธิผล เพื่อให้หน่วยงานในแต่ละพื้นที่ผู้รับผิดชอบในการสนับสนุนทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อปท. และกลุ่มหน่วยงานภาคีที่มีพันธกิจเกี่ยวข้องจากส่วนกลาง เช่น สปสช. สสส. ฯลฯ เกิดความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรม ที่ให้การสนับสนุน โดยมีหลักฐานแสดงผลสัมฤทธิ์ในการปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง และลดอัตราการติดเชื้อรายใหม่
[1] หมายถึง ปัญหาอนามัยเจริญพันธุ์ ๕ ด้านของเยาวชน ได้แก่ (๑) การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในเยาวชน (๒) การทำแท้งและผลสืบเนื่องจากการทำแท้ง (๓) การถูกกระทำรุนแรงทางเพศ (เช่น ถูกข่มขืน) (๔) การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ (๕) พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่เคยตรวจ
[2] โครงการรอบที่ ๑ ระยะต่อขยาย เริ่มปี ๒๕๕๑ กลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนในโรงเรียน สถานประกอบการ และชุมชน รวมถึงสถานบริการสุขภาพ ต่อมาในปี ๒๕๕๕ ได้ผนึกรวมกับโครงการในรอบที่ ๘ ที่มีกลุ่มเป้าหมาย คือ พนักงานทางเพศสตรี ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ผู้ต้องขัง ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด และแรงงานต่างชาติ