โครงการป้องกันท้องในวัยเรียน
Home
ภาคีเครือข่ายทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ภายใต้ การสนับสนุนของกองทุนโลก ได้เห็นความสำคัญและเห็นชอบให้มี “แผนงานการพัฒนาและรับรองโครงการป้องกันและ แก้ไขปัญหาเอดส์ที่มีประสิทธิผล” หรือ “คัมภีร์วิถีเพศ” ขึ้นซึ่งมีระยะเวลาโครงการระหว่างปีพ.ศ.2555-2557 โดยเห็นว่าเป็นการริเริ่มงานในลักษณะที่ยังไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย แม้ว่าจะมีการดำเนินงานด้านเอดส์ในประเทศมาต่อเนื่องกว่า20 ปี ทั้งนี้ สำนักงานบริหารกองทุนโลกซึ่งเป็นหน่วยงานผู้รับทุนหลักมุ่งหวังว่า “ทีม ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ 9 โครงการ ของหน่วยงานรับทุนรอง จะได้ร่วมกันเรียนรู้ จนมีทักษะในการวางแผนและจัดการโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ที่มุ่งผลลัพธ์ในการปรับลดพฤติกรรมเสี่ยงการติดเชื้อเอดส์ โดยสามารถขึ้นบัญชีรายการโครงการที่มีประสิทธิผล และสามารถรับรองให้หน่วยงาน ผู้กำหนดนโยบาย ของภาคส่วนต่างๆ ที่ต้องการสนับสนุนทรัพยากร เกิดความมั่นใจและยอมรับในกระบวนการดำเนินงานโครงการ และเลือกใช้รูปแบบ วิธีการ หรือบุคลากรของหน่วยงานรับทุนรอง ไปดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปได้"
ทำไมต้องมี Thai Compendium
โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์[1]>> ที่ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนโลก[2]>> ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.๒๕๕๗ โดยโครงการฯ ได้ตั้งเป้าหมายมุ่งปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง จัดบริการสุขภาพ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางเพศ และการเข้าถึงบริการ จนส่งผลกระทบในการลดอัตราการติดเชื้อเอดส์รายใหม่ ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีรายได้มวลรวมปานกลางระดับสูง จึงมีความจำเป็นที่จะรับการสนับสนุนช่วยเหลือจากองค์กรนานาชาติ และมุ่งหวังให้ประเทศไทยสามารถดำเนินงานเองได้อย่างมีประสิทธิผล (Effective Management) ซึ่งถือเป็นการพัฒนาภารกิจได้อย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยหน่วยงานภายในจังหวัด และท้องถิ่น
ดังนั้น ความยั่งยืนของการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ย่อมกอปร์ด้วยสมรรถนะการจัดการโครงการ/กิจกรรมที่มีประสิทธิผล เพื่อให้หน่วยงานในแต่ละพื้นที่ผู้รับผิดชอบในการสนับสนุนทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อปท. และกลุ่มหน่วยงานภาคีที่มีพันธกิจเกี่ยวข้องจากส่วนกลาง เช่น สปสช. สสส. ฯลฯ เกิดความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรม ที่ให้การสนับสนุน โดยมีหลักฐานแสดงผลสัมฤทธิ์ในการปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง และลดอัตราการติดเชื้อรายใหม่
>
[1]>> หมายถึง ปัญหาอนามัยเจริญพันธุ์ ๕ ด้านของเยาวชน ได้แก่ (๑) การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในเยาวชน (๒) การทำแท้งและผลสืบเนื่องจากการทำแท้ง (๓) การถูกกระทำรุนแรงทางเพศ (เช่น ถูกข่มขืน) (๔) การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ (๕) พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่เคยตรวจ
[2]>> โครงการรอบที่ ๑ ระยะต่อขยาย เริ่มปี ๒๕๕๑ กลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนในโรงเรียน สถานประกอบการ และชุมชน รวมถึงสถานบริการสุขภาพ ต่อมาในปี ๒๕๕๕ ได้ผนึกรวมกับโครงการในรอบที่ ๘ ที่มีกลุ่มเป้าหมาย คือ พนักงานทางเพศสตรี ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ผู้ต้องขัง ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด และแรงงานต่างชาติ
กรอบการพัฒนาโครงการ
กรอบและขั้นตอนการพัฒนาและรับรองโครงการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ที่มีประสิทธิผล มีรายละเอียดดังนี้
ขั้นที่ 1 มีการจัดวางแผนปฏิบัติการ
(Operation Plan) หรือ แผนกิจกรรม ของโครงการในแต่ละพื้นที่อย่างเป็นระบบ
ใช้ตรรกะ แนวคิด หรือความสัมพันธ์เชิงเหตุผล รวมทั้งทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินงานที่ทำให้เชื่อว่าจะส่งผลให้เกิดประสิทธิผลในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายได้
ขั้นที่ 2 เป็นโครงการที่ผ่านขั้นตอนที่ 1 แล้ว และเมื่อติดตามการดำเนินงานในพื้นที่จริงมีการวัดผลลัพธ์ (Outcomes) ที่แสดงประสิทธิผลของกระบวนการ และกิจกรรมที่โครงการขับเคลื่อนอยู่ ไม่ว่าผลการวัดดังกล่าว จะแสดงการเปลี่ยนแปลงได้ดังที่คาดหวัง (Expected Outcomes) หรือไม่ก็ตาม หากแต่ความสามารถในการวัดผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กับการดำเนินงาน จะมีส่วนช่วยให้เกิดการทบทวน และปรับปรุงประสิทธิผลการดำเนินงานต่อไป
ขั้นที่ 3 เป็นโครงการที่ผ่านขั้นตอนที่ 2 และแสดงผลลัพธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ตามเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ได้ในพื้นที่ดำเนินการ 1 พื้นที่ บ่งชี้ถึงมาตรฐานการจัดการโครงการในระดับปฏิบัติการ สมควรที่จะนำไปขยายผลทั้งในพื้นที่เดิม ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ตลอดจนขยายผลออกไปดำเนินงานในพื้นที่อื่นๆ ใกล้เคียง หรือ ในพื้นที่ที่มีเงื่อนไขทางเหตุปัจจัยที่แตกต่างออกไป
ขั้นที่ 4 เป็นโครงการที่ผ่านขั้นตอนที่ 3 แล้ว และนำไปขยายผลแสดงผลสัมฤทธิ์ได้เช่นเดียวกัน ในพื้นที่อื่นๆ มากกว่า 2 พื้นที่ เป็นการยืนยันให้เห็นว่ากรอบวิธีการดำเนินงาน และแนวทางการควบคุมจัดการคุณภาพของโครงการมีประสิทธิผลดีเยี่ยมสมควรที่จะนำไปขยายผลในวงกว้างได้
ทำไมต้องมี Thai Compendium
โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์[1]>> ที่ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนโลก[2]>> ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.๒๕๕๗ โดยโครงการฯ ได้ตั้งเป้าหมายมุ่งปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง จัดบริการสุขภาพ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางเพศ และการเข้าถึงบริการ จนส่งผลกระทบในการลดอัตราการติดเชื้อเอดส์รายใหม่ ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีรายได้มวลรวมปานกลางระดับสูง จึงมีความจำเป็นที่จะรับการสนับสนุนช่วยเหลือจากองค์กรนานาชาติ และมุ่งหวังให้ประเทศไทยสามารถดำเนินงานเองได้อย่างมีประสิทธิผล (Effective Management) ซึ่งถือเป็นการพัฒนาภารกิจได้อย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยหน่วยงานภายในจังหวัด และท้องถิ่น
ดังนั้น ความยั่งยืนของการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ย่อมกอปร์ด้วยสมรรถนะการจัดการโครงการ/กิจกรรมที่มีประสิทธิผล เพื่อให้หน่วยงานในแต่ละพื้นที่ผู้รับผิดชอบในการสนับสนุนทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อปท. และกลุ่มหน่วยงานภาคีที่มีพันธกิจเกี่ยวข้องจากส่วนกลาง เช่น สปสช. สสส. ฯลฯ เกิดความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรม ที่ให้การสนับสนุน โดยมีหลักฐานแสดงผลสัมฤทธิ์ในการปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง และลดอัตราการติดเชื้อรายใหม่
>
[1]>> หมายถึง ปัญหาอนามัยเจริญพันธุ์ ๕ ด้านของเยาวชน ได้แก่ (๑) การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในเยาวชน (๒) การทำแท้งและผลสืบเนื่องจากการทำแท้ง (๓) การถูกกระทำรุนแรงทางเพศ (เช่น ถูกข่มขืน) (๔) การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ (๕) พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่เคยตรวจ
[2]>> โครงการรอบที่ ๑ ระยะต่อขยาย เริ่มปี ๒๕๕๑ กลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนในโรงเรียน สถานประกอบการ และชุมชน รวมถึงสถานบริการสุขภาพ ต่อมาในปี ๒๕๕๕ ได้ผนึกรวมกับโครงการในรอบที่ ๘ ที่มีกลุ่มเป้าหมาย คือ พนักงานทางเพศสตรี ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ผู้ต้องขัง ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด และแรงงานต่างชาติ
ขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนาโครงการมุ่งประสิทธิผล
การกำหนดกรอบ (Framework) และขั้นตอน (Stages) ในการจัดการโครงการในระดับพื้นที่ปฏิบัติการ ให้มีเกณฑ์ (Criteria) มุ่งประสิทธิผล รวมทั้งใช้เป็นเกณฑ์การรับรองประสิทธิผลของโครงการต่อไปในอนาคต มี 5 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนากรอบแนวคิด
ขั้นตอนที่ 2 การจัดการร่วมกับภาคี
ขั้นตอนที่ 3 การร่วมกำหนดกิจกรรมหลักของโครงการที่นำไปสู่ผลลัพธ์
ขั้นตอนที่ 4 การทำแผนปฏิบัติการรายละเอียดให้สอดคล้องกับกิจกรรมหลัก
ขั้นตอนที่ 5 การติดตาม และประเมินผล
โดยมีโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนต่างๆ ดังภาพ